วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ผลงาน Jewish Museum



มา ดูที่ผลงาน Jewish Museum, San Francisco กันเลยดีกว่า งานใน Style ของ Libeskind เรื่อง Function เป็นสิ่งสุดท้ายที่จะพิจารณา งานของเขาสื่อความหมาย สร้างสมดุลย์ระหว่างความขัดแย้งของเรื่องราวประวัติศาสตร์ในอดีตที่ข่มขืน ทุกระทมของชาวยิว กับความสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละที่ ๆ ชาวยิวโดนไล่ที่โดนทำร้ายและระหกระเหินไปยังที่ต่าง ๆ

อาคาร นี้เป็นส่วนปรับปรุงและอาคารเดิม ซึ่งเป็นอาคารสไตล์Colonial architecture เป็นสถานีไฟฟ้าย่อย Jessie Street สร้างมาตั้งแต่ ค.ศ. 1907 ติดกับสวนสาธารณะ Yeba Buena โดยเปลือกของอาคารเป็นงานก่ออิฐโชว์แนว ส่วนภายในเป็นอาคาร Industrial มีโครงเหล็กรูปพรรณ และ Truss สำหรับเครื่องจักรและเครื่องปั่นไฟเมื่อครั้งอดีต ส่วนต่อขยายนี้มีลักษณะเป็นทรงลูกบาศก์ออกไปทางผืนผ้าสองชิ้นเอียงและบิดตัว ยื่นออกมาจากอาคารเก่า โดยมีลักษณะที่ interlock กันอยู่โครงการนี้เป็นพื้นที่ใช้สอย 7,000 ตารางเมตรใช้สำหรับแสดงงาน ด้าน visual , performing และ media art และพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร เป็นพื้นที่สำหรับการศึกษา
ผิวของอาคารนี้ใช้วัสดุที่เรียกว่า Luminous blue steel panels ใช้เทคนิคพิเศษเรียกว่า Interference- coating ซึ่งทาง Daniel Libeskind Studio กล่าวว่าไม่มีวันที่สีจะตก นอกจากนี้จากวัสดุนี้พื้นผิวของอาคารจะเปลี่ยนสี ไปตามช่วงเวลาของวัน สภาพอากาศ และ มุมมองของผู้คน ทำให้เกิด Dynamic หรือ Living Surface

ผลงานชิ้นนี้ของ Libeskind เป็นการผสมผสานกันระหว่างสิ่งที่ขัดแย้งกันโดยเปลือกนอกและรุปร่าง ระหว่าง ผิวของอาคารเดิมซึ่งเป็นอิฐมาอยู่เคียงกันกับวัสดุสุดทันสมัยอย่าง Luminous steel panel หรือ ระหว่างอาคารร่วมสมัยกับอาคารยุคปลายศตวรรษที่ 19 ระหว่าง ประเพณีกับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะสะท้อนจุดประสงค์ของสถาบัน jewish เพื่อที่จะส่งเสริม วัฒนธรรมยิว ประวัติศาสตร์ ศิลปะ แนวความคิดของชาวยิวใหดำรงอยู่ในบริบทของศตวรรษที่ 21 นี้

















อ้างอิงจาก
So you want to be an architect


วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ครั้งแรกในโลก!! ตึก “หมุน 360” ทุกชั้น


คุณเคยเห็นตึกหน้าตาแบบนี้หรือไหม?
อย่ายึดติดกับแบบความคิดเดิม เพราะมันจะเป็นตัวฉุดรั้งให้เราไม่รู้จักคำว่า
"ก้าวหน้า พัฒนาการทางความคิด ออกจากกรอบเดิมๆ ที่เป็นอยู่แล้วจะดีเอง"

Rotating Tower

เดวิด ฟิชเชอร์ (David Fisher) สถาปนิกที่เสนอโครงการตึกหมุน (Rotating Tower) ก่อสร้างที่ประเทศ ดูไบ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลม โดย Rotating Tower สร้างเหมือนจานเรียงซ้อนกันบนแก่นกลางคอนกรีตที่มีกังหันลมตั้งอยู่ระหว่างชั้นแต่ละชั้น ภายในแก่นกลางคอนกรีตจะมีลิฟท์ บันไดหนีไฟ และ ลอบบี้ โดยทุกชั้นจะหมุนรอบตัวเอง 360 องศาทุก ๆ 90 นาที โดยจะหมุนเป็นอิสระต่อกัน และใช้เซลล์ไฟฟ้าแสงอาทิตย์ (Photovoltaic cells) แทนที่หลังคาของแต่ละชั้นเพื่อผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดย 20 % ของหลังคาจะถูกแสงแดด ดังนั้นตึกนี้ซึ่งมีหลังคาทั้งหมด 80 ชั้นจะมีพื้นที่ของหลังคาเท่ากับตึกที่มีขนาดเดียวกันจำนวน 10 ตึก นอกจากนี้ยังนำ วัสดุธรรมชาติ วัสดุรีไซเคิล รวมถึง หิน หินอ่อน แก้ว และไม้ ก็ถูกนำมาใช้ตกแต่งภายในตึกด้วย และตอนนี้ก็ได้มีการเปิดจองห้องพักภายในตึกแล้วด้วย
“ไดนามิค ทาวเวอร์” อาคารระฟ้ารูปร่างเพรียวลม และเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้ตามต้องการแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของอพาร์ตเมนต์สุดหรูควบคู่กับด้วยการอนุรักษ์พลังงาน มิหนำซ้ำยังหมุนรอบทิศทาง อันผลงานการออกแบบของ เดวิด ฟิชเชอร์ สถาปนิกชาวอิตาลี ได้รับการเปิดตัวในนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร (24) ก่อนจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่รัฐดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาคารระฟ้า ความสูง 420 เมตร สุดยอดสถาปัตยกรรมสร้างสรรค์หลังนี้ มีทั้งหมด 80 ชั้น ประกอบด้วย ห้องชุดสำเร็จรูปขนาด 124 - 1,200 ตารางเมตร ที่สามารถหมุนเวียนไปรอบๆ ได้ครบ 360 องศา เพียงเปล่งเสียงออกคำสั่ง บริเวณรอบๆ แกนกลางของกังหันลม ที่ติดตั้งระหว่างช่องว่างของแต่ละชั้น “อาคารแห่งนี้สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้อย่างไม่รู้จบ” ฟิชเชอร์ให้สัมภาษณ์ และอธิบายว่า แต่ละชั้นในตึกไดนามิค ทาวเวอร์ สามารถหมุนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระจากชั้นอื่นๆ “อาคารแห่งนี้จะเปิดจินตนาการของเราไปรอบๆ โลก ตลอดจนชีวิตใหม่ๆ ด้วย” ฟิชเชอร์ เสริมว่า อาคารระฟ้าแห่งนี้ มีมูลค่าการก่อสร้างราว 700 ล้านดอลลาร์ (ราว 2 หมื่นกว่าล้านบาท) จะเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในปี 2010 ในนครดูไบ

อ้างอิงมาจาก
http://weburbanist.com/
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9510000075848

How to write like an architect

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ อันโตนีโอ เกาดี


อันโตนีโอ เกาดี เกิดเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๕๒ ในทาราโกนา บาร์เซโลนา แคว้นคาตาโลเนีย ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศสเปน เป็นบุตรของ Francese Gaudi Serra และ Antonio Corneti Bertran ในวัยเด็กเกาดีไม่แข็งแรงนักเพราะเป็นโรคปวดในข้อ เป็นเหตุให้เขามักแยกตัวออกจากเด็กอื่น ชอบเก็บตัวอยู่ในบ้าน มากกว่าที่จะออกไปวิ่งเล่นเหมือนเด็กทั่วไป เกาดีต้องทุกข์ทรมานกับโรคนี้จนตลอดชีวิต แม้หมอจะแนะนำให้เขากินอาหารมังสวิรัติ และเดินออกกำลังเป็นประจำ แต่ก็ไม่หายขาด
วันที่ ๗ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๒๖ เกาดีในวัย ๗๔ ปี เดินออกกำลังกายจากบ้าน เพื่อไปสวดมนต์ยังโบสถ์เซนต์ฟิลลิป เนริ ตามปรกติ ระหว่างทาง เขาถูกรถรางชนจนล้มลงหมดสติ อาจด้วยสภาพซอมซ่อของเขา จึงไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นสถาปนิกชั้นนำของบาร์เซโลนา แม้แต่คนขับแท็กซี่ ยังปฏิเสธที่จะรับชายที่แต่งกายโทรม ๆ ไปส่งยังโรงพยาบาล (ภายหลังคนขับรถแท็กซี่ถูกลงโทษ) กว่าที่เกาดีจะถูกนำส่งโรงพยาบาล ก็มีอาการสาหัสมากแล้ว และเสียชีวิตลงในอีกห้าวันถัดมา นั่นเป็นบทสุดท้ายในชีวิตของสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่
ในฐานะที่เกาดีเป็นวีรบุรุษของชาวเมืองบาร์เซโลนา รัฐบาลสเปนจึงมีมติให้เก็บศพเขาไว้ที่โบสถ์ซากราดา ฟามิลิยา เพื่อให้เขาได้พักผ่อนในสถานที่ซึ่ง เขาได้อุทิศตนเป็นเวลาถึง ๔๓ ปีเพื่อสร้าง โดยเฉพาะ ๑๒ ปีสุดท้ายของชีวิต ที่เขาทำงานอย่างจริงจังอยู่ที่โบสถ์แห่งนี้ สถานที่ซึ่งเป็นเสมือนบ้านของเขาแห่งนี้ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่เขาจะได้พำนักอย่างสงบไปชั่วนิรันดร์
(อ้างอิงจาก http://www.sarakadee.com/feature/2001/11/gaudi.htm)




How to design like an architect
วิธีการออกแบบเหมือนนักสถาปนิก
(โปรดติดตามดูสักครู่)